วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์




ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์





1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ 
          
         โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้





1.1 ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
1.2 สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
1.3 มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
1.4 มีเวลาเพียงพอ
1.5 มีงบประมาณเพียงพอ
1.6 มีความปลอดภัย

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล 






          การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า          
  •            จะทำ อะไร
  •            ทำไมต้องทำ
  •       ต้องการให้เกิดอะไร
  •        ทำอย่างไร
  •       ใช้ทรัพยากรอะไร
  •       ทำกับใคร
  •       เสนอผลอย่างไร





3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน

1.ชื่อโครงงาน ต้องสื่อว่าทำอะไรกับใคร เพื่ออะไร เช่นโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา โครงงานพัฒนาเครื่องมือ                        

2.ชื่อผู้จัดทำ  ระบุถึงผู้รับผิดชอบโครงงานอาจเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้                                                                              

3.ครูที่ปรึกษา ระบุชื่อสกุล ของครูผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาควบคุมการทำโครงงานของนักเรียน                                                

4.ระยะเวลาดำเนินงาน ให้ระบุเวลาตั้งแต่เริ่มทำโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการบริหารจัดการเพื่อใช้วางแผนควบคุมการทำงาน           

5.แนวคิด ที่มา อธิบายถึงสาเหตุที่เลือกทำโครงงาน กล่าวถึงความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล                              

 6.วัตถุประสงค์ ระบุสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานนี้ในเชิงกระบวนการและผลลัพธ์ที่ได้                                                

 7. หลักการทฤษฏี อธิบายหลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง ที่นำมาใช้ในโครงงาน                                                                            

8.วิธีดำเนินงาน กล่าวถึงกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน            

9.ขั้นตอนปฏิบัติ กล่าวถึงวันเวลาและการดำเนินกิจการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น                                                                 

10.ผลที่คาดว่าจะได้รับ ระบุถึงสภาพของผลที่ต้องการให้เกิด รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น                                                       

11.เอกสารอ้างอิง ระบุชื่อเอกสารข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินการ



4. การลงมือทำโครงงาน 



            เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว  ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ เช่น จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม รวมทั้งการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มให้ชัดเจน แล้วจึงดำเนินการทำโครงงาน ขณะเดียวกันต้องมีการทดสอบ ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาโครงงานเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้น ทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และเกิดประสิทธิภาพตามขั้นตอนต่อไปนี้
          
1.การเตรียมการ          
2.การลงมือพัฒนา          
3.การทดสอบผลงานและแก้ไข          
4.การอภิปรายและข้อเสนอแนะ          
5.แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอ












5. เขียนรายงานและจัดทำคู่มือการใช้ 
         
            การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา และส่วนสุดท้ายเป็นคู่มือการใช้งานโครงงาน ซึ่งประกอบด้วย
           ส่วนแรกของรายงานจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน โดยส่วนใหญ่ได้เขียนไว้ในข้อเสนอโครงงานบ้างแล้ว ยกเว้น กิตติกรรมประกาศ ซึ่งเป็นคำกล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้การทำโครงงานสำเร็จ อีกส่วนหนึ่งคือ บทคัดย่อ ซึ่งเป็นการอธิบายโดยสรุปให้เห็นถึงผลการศึกษาที่ได้จากการทำโครงงาน โดยเขียนเป็นความเรียง
       บทที่ 1 บทนำ เป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานโดยได้เขียนไว้แล้วในข้อเสนอโครงงานซึ่งประกอบด้วย 
- ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 
- วัตถุประสงค์ 
- ขอบเขตของโครงงาน
       บทที่ 2 หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูล หลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่น ที่ผู้จัดทำโครงงานนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
       บทที่ 3 วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด ระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบ วิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำโครงงาน
       บทที่ 4 ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นรูปภาพ ตาราง กราฟ ข้อความ ทั้งนี้ต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
       บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ การสรุปผลการดำเนินงาน เป็นการอธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมุติฐานควรระบุถึงข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ การนำผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ และควรมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงานเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อื่นศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ควรกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้จัดทำและผู้ใช้จะได้ประโยชน์จากการทำโครงงานด้วย
       บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสารเอกสารและ /หรือเว็บไซต์ ที่ผู้จัดทำโครงงานใช้ศึกษา ค้นคว้ารายละเอียด ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงาน ทั้งนี้เขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
       คู่มือการใช้งาน เป็นคู่มืออธิบายวิธีการใช้งานผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผลงาน คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะใช้กับผลงานนั้นได้ (ถ้ามี) รายละเอียดของคอมพิวเตอร์  ต้องมีรายชื่อซอฟต์แวร์   ผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลเข้า และส่งอะไรออกมาเป็นข้อมูลออก วิธีการใช้งาน ควรอธิบายขั้นตอนตามลำดับการทำงาน ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ข้อแนะนำการใช้งาน สามารถแยกออกจากรายงานหรือใส่ไว้ในภาคผนวกของรายงานก็ได้ แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จัดทำ

   
 5. การเขียนรายงาน 
 
            เมื่อทำโครงงานจนได้ข้อมูลอย่างเพียงพอและทำการวิเคราะห์ผล และสรุปผลแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำคือการจัดทำรายงาน ซึ่งจะรวมถึงรายละเอียดต่างๆ ในการพัฒนา และคู่มือการใช้งาน 
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงาน ในการเขียนรายงานนั้น ผู้เรียนควรใช้ภาษาที่อ่านและเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆให้ครบถ้วนตามรูปแบบที่กำหนด ซึ่งจะได้ศึกษารายละเอียดในหน่วยที่ 5 ต่อไป
เมื่อทำโครงงานจนได้ข้อมูลอย่างเพียงพอและทำการวิเคราะห์ผล และสรุปผลแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำคือการจัดทำรายงาน ซึ่งจะรวมถึงรายละเอียดต่างๆ ในการพัฒนา และคู่มือการใช้งาน รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงาน ในการเขียนรายงานนั้น ผู้เรียนควรใช้ภาษาที่อ่านและเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆให้ครบถ้วนตามรูปแบบที่กำหนด ซึ่งจะได้ศึกษารายละเอียดในหน่วยที่ 5 ต่อไป

6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน 

             การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบ การรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น








































         จัดทำโดย นางสาว พีรยาภรณ์ ไชยกูล ม. 6/14 เลขที่ 25
                           นางสาว ศศธร เทววาพิทักษ์ ม.6/14 เลขที่ 34






























โครงงานคอมพิวเตอร์




โครงงานคอมพิวเตอร์



  • ความหมายและความสำคัญของโครงงาน

            โครงงานคอมพิวเตอร์  หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข






  •  ความสำคัญของโครงงานคอมพิเตอร์

          โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำความสามารถที่เกิดจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการดังนี้          

1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน
2.ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ 
ดังนี้
  •  การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
  •  การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน
  •  การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ
  •   การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครง งานใด
  •  การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม

  • ขอบเขตของโครงงานคอมพิวเตอร์

1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว
2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้
5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย

      

                             ✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼✼

















โครงงานมีความสาคัญอย่างไร
เสริมสร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลทาให้
เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ในการทาโค...







      ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
     https://sites.google.com/a/sw101.ac.th/krujumka/hnwy-kar-reiyn-ru13
     https://www.gotoknow.org/posts/314100
     จัดทำโดย
      นางสาว พีรยาภรณ์ ไชยกูล  ม.6/14 เลขที่25
      นางสาว ศศธร เทวาพิทักษ์   ม.6/14 เลขที่35









วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่5 บทความและสารคดี




12 อาหารอันตรายอาจถึงตาย 

ห้ามยื่นให้มะหมากินเด็ดขาด !!!




           
        
 แม้สุนัขจะออดอ้อนหรือทำตัวน่ารักเป็นพิเศษ ก็อย่าเผลอหยิบอาหารเหล่านี้ให้กินเด็ดขาด เพราะอาหารคน 12 ชนิดนี้เป็นอันตรายกับสุนัขอย่างมากและอาจทำให้ถึงตายได้เลย
        เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวเจ้าตูบเคราะห์ร้ายเผลอไปกินช็อกโกแลตเข้า ทำให้เกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรง (คนรักหมาต้องอ่าน เหตุผลที่ห้ามให้เจ้าตูบกินช็อกโกแลต ไม่งั้นอาจเป็นเช่นนี้ !) โชคดีที่เจ้าตูบตัวนี้รอดมาได้ ในกรณีแบบนี้อย่าถือว่าเป็นเรื่องไกลตัวเชียว เพราะเราไม่สามารถคอยตามดูเจ้าตูบที่บ้านได้ทุกฝีก้าว เจ้าตูบที่บ้านของเราอาจเผลอกินอาหารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเข้าไปโดยที่เราไม่รู้ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่เป็นอันตรายกับเจ้าตูบมาฝาก มาดูกันค่ะว่าอาหารที่ควรเก็บให้ห่างจากสายตา อุ้งเท้า และปากเจ้าตูบมีอะไรบ้าง

                  



1. ช็อกโกแลต

          เป็นอาหารที่เป็นอันตรายสำหรับสุนัขอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ เนื่องจากว่าในช็อกโกแลตมีทั้งคาเฟอีนและธีโอโบรมีนเป็นส่วนประกอบสารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจและระบบประสาทส่วนกลางรวมถึงออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารถ้าสุนัขกินเข้าไปจะเกิดอาการอาเจียน ปวดท้องรุนแรง กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ชัก และอาจตายได้

2. นมวัว

          ในนมวัวมีแลคโตสหรือน้ำตาลนมที่ร่างกายสุนัขไม่สามารถย่อยได้ ดังนั้นเมื่อสุนัขกินเข้าไปก็อาจจะทำให้อาเจียน ท้องเสีย และก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็อาจมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและสามารถก่อให้เกิดโรคร้ายได้



3. ชีส

          ชีสมีส่วนประกอบคล้าย  ๆ กับนม นั่นก็คือมีน้ำตาลและไขมันที่สุนัขไม่สามารถย่อยได้ ถ้าหากสุนัขกินเข้าไปในปริมาณมากจะทำให้ท้องเสียและอาเจียน 

4. หอมหัวใหญ่

          ในหอมหัวใหญ่มีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายสุนัข ซึ่งสารที่ว่านี้จะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้สุนัขอ่อนแรงและเคลื่อนไหวได้ช้า ถ้าหากกินเข้าไปในปริมาณมากอาจจะต้องรักษาโดยการถ่ายเลือด

5. ถั่วแมคคาเดเมีย
          สารที่เป็นอันตรายต่อสุนัขที่พบในถั่วแมคคาเดเมียยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า เป็นสารชนิดใด ถ้าสุนัขกินเข้าไปในปริมาณมากอาจจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินไม่ได้ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขาหลัง อาเจียน ซึมเศร้า กล้ามเนื้อกระตุกและอุณหภูมิร่างกายผิดปกติ

6. กระเทียม

          กระเทียมเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับหัวหอมใหญ่ ซึ่งในกระเทียมมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุนัขมากกว่าหัวหอมใหญ่ถึงเท่าตัว เมื่อสุนัขได้รับสารพิษเข้าไปร่างกายจะไม่แสดงอาการออกมาทันที แต่สุนัขจะมีอาการเหนื่อยล้าและไม่อยากขยับตัว สังเกตฉี่จะมีสีเหลืองไปจนถึงสีแดง ซึ่งอาจจะต้องรักษาโดยการถ่ายเลือดเช่นเดียวกัน 



7. องุ่น

          สารในองุ่นและลูกเกดยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นสารชนิดใด แต่สารชนิดนี้เป็นอันตรายอย่างรุนแรงต่อสุนัข ทำให้ไตวายเฉียบพลัน แต่ทั้งนี้อาการจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของสุนัขด้วย นอกจากอาการไตวายแล้วยังสามารถก่อให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน ภาวะซึมเศร้า ร่างกายสูญเสียน้ำ เบื่ออาหาร และถ้าสุนัขเกิดอาการไตวายฉับพลันอาจตายได้ใน 3-4 วัน

8. อะโวคาโด

          ใบเมล็ดและผลอะโวคาโดมีสารพิษที่เรียกว่าเพอร์ซิน (Persin) ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุนัขโดยเฉพาะในเมล็ด เมื่อสุนัขกินเข้าไปอาการที่แสดงออกมาจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของสุนัข โดยมีผลทำให้เกิดอาการปวดท้องและหายใจติดขัด

9. แกนแอปเปิล

          แกนของผลแอปเปิล รวมถึงลูกไหน ลูกท้อ ลูกแพร์ และแอปริคอต จะมีสารไซยาไนด์ที่เป็นพิษ ซึ่งจะทำให้สุนัขวิงเวียนศีรษะ หายใจติดขัด ชัก ช็อก และอาจถึงขั้นโคม่าได้




10. ขนมปัง
          ในการทำขนมปังจะมีการใส่ยีสต์ลงไปด้วย ซึ่งยีสต์สามารถเจริญเติบโตได้ภายในลำไส้ของสุนัข มีผลทำให้เกิดแก๊สในระบบย่อยอาหาร ต่อมาก็จะเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและอาจถึงขั้นทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาดได้ นอกจากนั้นยังมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น อาเจียนและอ่อนเพลียตามมาด้วย 

11. กาแฟ

     ในกาแฟจะมีสาร Methylated xanthine ซึ่งจะไปกระตุ้นระบบประสาทของสุนัข ทำให้เกิดอาการอาเจียน กระสับกระส่าย ใจสั่น และอาจตายได้




12. เบคอน


          สาเหตุที่เบคอนเป็นอันตรายต่อสุนัข ก็เพราะเบคอนมีปริมาณไขมันเยอะ ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบและทำงานผิดปกตินอกจากนั้นยังมีผลต่อระบบย่อยและดูดซึมสารอาหารของสุนัขอีกด้วย 



          ถึงแม้ว่าอาหารบางชนิดที่กล่าวไปจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรงถ้าสุนัขไม่กินเข้าไปในปริมาณมากและจะมีอาการเฉพาะในบางสายพันธุ์ แต่อย่างไรแล้วก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของสุนัข 







ขอขอบคุณข้อมูลจาก foodbeas และ canigivemydog



วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ใบงาน4 คลังข้อสอบ



ใบงานที่ 4 คลังข้อสอบ


                                           
-ข้อสอบ o-net-



 -GAT ไทย-






รวมข้อสอบ GAT เชื่อมโยง พร้อมเฉลย โดย AJ KLUI